เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 44.นีวรณทุกะ 5.สังสัฏฐวาร
44. นีวรณทุกะ 5. สังสัฏฐวาร
1-4. ปัจจยจตุกกนัย
[21] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์เกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์เพราะ
เหตุปัจจัย ได้แก่ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ และอวิชชานิวรณ์เกิดระคนกับ
กามฉันทนิวรณ์ (พึงผูกเป็นจักกนัย พึงขยายนิวรณ์ทั้งหมดให้พิสดาร)

[22] เหตุปัจจัย มี 9 วาระ
อารัมมณปัจจัย มี 9 วาระ

(ทุกปัจจัย มีปัจจัยละ 9 วาระ)
วิปากปัจจัย มี 1 วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย มี 9 วาระ
อนุโลม จบ
[23] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์เกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์เพราะ
นเหตุปัจจัย ได้แก่ อวิชชานิวรณ์เกิดระคนกับวิจิกิจฉานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์เกิด
ระคนกับอุทธัจจนิวรณ์ (ย่อ)

[24] นเหตุปัจจัย มี 4 วาระ
นอธิปติปัจจัย มี 9 วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี 9 วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี 9 วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี 9 วาระ
นกัมมปัจจัย มี 3 วาระ
นวิปากปัจจัย มี 9 วาระ
นฌานปัจจัย มี 1 วาระ
นมัคคปัจจัย มี 1 วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี 9 วาระ

ปัจจนียะ จบ
(การนับ 2 อย่างนอกนี้และสัมปยุตตวาร พึงเพิ่มอย่างนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :399 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 44.นีวรณทุกะ 7.ปัจจยวาร
44. นีวรณทุกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[25] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์โดยเหตุปัจจัย
ได้แก่ เหตุที่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตนิวรณ์โดยเหตุปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์โดยเหตุ-
ปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดย
เหตุปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และที่ไม่เป็นนิวรณ์
โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ นิวรณ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์โดยเหตุปัจจัย
ได้แก่ เหตุที่ไม่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุ-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)

อารัมมณปัจจัย
[26] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์โดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภนิวรณ์ นิวรณ์จึงเกิดขึ้น (พึงอ้างบทที่เป็นมูล)
เพราะปรารภนิวรณ์ ขันธ์ที่ไม่เป็นนิวรณ์จึงเกิดขึ้น (พึงอ้างบทที่เป็นมูล) เพราะ
ปรารภนิวรณ์ นิวรณ์และสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น (3)
[27] สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์โดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณากุศล
นั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน
ฯลฯ พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณานิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :400 }