เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 26.คันถทุกะ 7.ปัญหาวาร
ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ เพราะ
ปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น คันถะและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น
หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่คันถะและสัมปยุตตขันธ์โดยอัตถิปัจจัย (3)
[36] สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
เป็นคันถะโดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ สีลัพพตปรามาสกายคันถะและสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่
อภิชฌากายคันถะโดยอัตถิปัจจัย (พึงผูกเป็นจักกนัย)
สหชาตะ ได้แก่ สีลัพพตปรามาสกายคันถะและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่
อภิชฌากายคันถะโดยอัตถิปัจจัย (พึงผูกเป็นจักกนัย) (1)
สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะ
โดยอัตถิปัจจัย มี 5 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
และอินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่ไม่เป็นคันถะและคันถะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ
สหชาตะ ได้แก่ คันถะและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นคันถะโดย
อัตถิปัจจัย
สหชาตะ ได้แก่ คันถะและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดย
อัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ คันถะและสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน
โดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ คันถะและกวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดย
อัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ คันถะและรูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดย
อัตถิปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะ
และที่ไม่เป็นคันถะโดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :347 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 26.คันถทุกะ 7.ปัญหาวาร
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่ไม่เป็นคันถะและสีลัพพตปรามาสกายคันถะเป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ 3 อภิชฌากายคันถะและจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ (พึง
ผูกเป็นจักกนัย)
สหชาตะ ได้แก่ สีลัพพตปรามาสกายคันถะและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่
อภิชฌากายคันถะและสัมปยุตตขันธ์โดยอัตถิปัจจัย (พึงผูกเป็นจักกนัย) (3)

1. ปัจจยานุโลม 2. สังขยาวาร
สุทธนัย

[37] เหตุปัจจัย มี 9 วาระ
อารัมมณปัจจัย มี 9 วาระ

(ทุกปัจจัย มีปัจจัยละ 9 วาระ)

อุปนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ
ปุเรชาตปัจจัย มี 3 วาระ
ปัจฉาชาตปัจจัย มี 3 วาระ
อาเสวนปัจจัย มี 9 วาระ
กัมมปัจจัย มี 3 วาระ
วิปากปัจจัย มี 1 วาระ
อาหารปัจจัย มี 3 วาระ
อินทรียปัจจัย มี 3 วาระ
ฌานปัจจัย มี 3 วาระ
มัคคปัจจัย มี 9 วาระ
สัมปยุตตปัจจัย มี 9 วาระ
วิปปยุตตปัจจัย มี 5 วาระ
อัตถิปัจจัย มี 9 วาระ
นัตถิปัจจัย มี 9 วาระ
วิคตปัจจัย มี 9 วาระ
อวิคตปัจจัย มี 9 วาระ

อนุโลม จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :348 }