เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 26.คันถทุกะ 7.ปัญหาวาร
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต-
สมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากและ
กฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะโดยกัมมปัจจัย
ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยกัมมปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะ
โดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ คันถะ
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย (3)

วิปากปัจจัยเป็นต้น
[32] สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะโดย
วิปากปัจจัย มี 1 วาระ เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย มี 3 วาระ เป็นปัจจัย
โดยอินทรียปัจจัย มี 3 วาระ เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย มี 3 วาระ เป็น
ปัจจัยโดยมัคคปัจจัย มี 9 วาระ เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย มี 9 วาระ

วิปปยุตตปัจจัย
[33] สภาวธรรมที่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะโดย
วิปปยุตตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ (ย่อ) (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะโดยวิปปยุตต-
ปัจจัย มี 3 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ (ย่อ) (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะโดยวิปปยุตตปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่คันถะโดยวิปปยุตต-
ปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็น
คันถะโดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัย
แก่คันถะและสัมปยุตตขันธ์โดยวิปปยุตตปัจจัย (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :345 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 26.คันถทุกะ 7.ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็น
คันถะโดยวิปปยุตตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ (ย่อ) (1)

อัตถิปัจจัย
[34] สภาวธรรมที่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะโดยอัตถิปัจจัย
มี 1 วาระ (เหมือนกับปฏิจจวาร)
สภาวธรรมที่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะโดยอัตถิปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ คันถะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดย
อัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ คันถะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะ
โดยอัตถิปัจจัย มี 1 วาระ (เหมือนกับปฏิจจวาร) (3)
[35] สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะโดย
อัตถิปัจจัย มี 5 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ
(ย่อ) (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะโดยอัตถิปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่คันถะโดยอัตถิปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ เพราะปรารภ
ความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น โทมนัสจึง
เกิดขึ้น หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่คันถะโดยอัตถิปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็น
คันถะโดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 คันถะและ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :346 }