เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 23.สัญโญชนสัญโญชนิยทุกะ 1.ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์เป็นอารมณ์ของสังโยชน์และที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
แต่ไม่เป็นสังโยชน์อาศัยสภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์เกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ทิฏฐิสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์ สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูปอาศัยกามราคสังโยชน์เกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) (3)
[98] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์อาศัยสภาวธรรม
ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3
และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์
เกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (พึงเพิ่มข้อความจน
ถึงมหาภูตรูป) (1)
สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์อาศัยสภาวธรรมที่เป็น
อารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ สังโยชน์อาศัย
ขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์เกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์เป็นอารมณ์ของสังโยชน์และที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
แต่ไม่เป็นสังโยชน์อาศัยสภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์เกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 สังโยชน์และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ 1 ที่เป็น
อารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์เกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ (3)
[99] สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์อาศัยสภาวธรรม
ที่เป็นสังโยชน์เป็นอารมณ์ของสังโยชน์และที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ทิฏฐิสังโยชน์ และอวิชชาสังโยชน์อาศัยกามราค-
สังโยชน์และสัมปยุตตขันธ์เกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) (1)
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์อาศัยสภาวธรรมที่
เป็นสังโยชน์เป็นอารมณ์ของสังโยชน์และที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ 1 ที่เป็น
อารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์และอาศัยสังโยชน์เกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2
ฯลฯ (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :321 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 24.สัญโญชนสัญโญชนสัมปยุตตทุกะ 1.ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์เป็นอารมณ์ของสังโยชน์และที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
แต่ไม่เป็นสังโยชน์อาศัยสภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์เป็นอารมณ์ของสังโยชน์และที่เป็น
อารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3
ทิฏฐิสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นอารมณ์ของ
สังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์และอาศัยกามราคสังโยชน์เกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2
ฯลฯ (พึงผูกเป็นจักกนัย) (3)
(เหมือนกับปฐมทุกะในสัญโญชนโคจฉกะ)
(พึงขยายทุกะให้พิสดารอย่างนี้ ไม่มีข้อแตกต่างกัน ยกเว้นแต่โลกุตตระ)
สัญโญชนสัญโญชนิยทุกะ จบ

24. สัญโญชนสัญโญชนสัมปยุตตทุกะ
1. ปฏิจจวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[100] สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์อาศัยสภาวธรรมที่
เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ทิฏฐิสังโยชน์
และอวิชชาสังโยชน์อาศัยกามราคสังโยชน์เกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์อาศัยสภาวธรรมที่เป็น
สังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ สัมปยุตตขันธ์
อาศัยสังโยชน์เกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์สัมปยุตด้วยสังโยชน์และที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่
เป็นสังโยชน์อาศัยสภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย ได้แก่ ทิฏฐิสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์ และสัมปยุตตขันธ์อาศัย
กามราคสังโยชน์เกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :322 }