เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 22.สัญโญชนสัมปยุตตทุกะ 7.ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์
โดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ
เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัส
จึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์โดย
ปุเรชาตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์
และที่วิปปยุตจากสังโยชน์โดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะ
และวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ เพราะปรารภจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ และ
โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะจึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วย
อุทธัจจะโดยปุเรชาตปัจจัย (3)

ปัจฉาชาตปัจจัย
[81] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก
สังโยชน์โดยปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ซึ่งเกิดภายหลังเป็น
ปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์
โดยปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์และโมหะที่วิปปยุตจากสังโยชน์ซึ่งเกิดภายหลัง
เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์และที่วิปปยุตจากสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาว-
ธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์โดยปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วย
อุทธัจจะซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :312 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 22.สัญโญชนสัมปยุตตทุกะ 7.ปัญหาวาร
อาเสวนปัจจัย
[82] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยสังโยชน์โดยอาเสวนปัจจัย มี 9 วาระ (อาวัชชนจิตและวุฏฐานะไม่มี)

กัมมปัจจัย
[83] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยสังโยชน์โดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์โดยกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์
โดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
โดยกัมมปัจจัย เจตนาที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่โมหะและจิตตสมุฏฐานรูป
โดยกัมมปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
วิบากและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์
และที่วิปปยุตจากสังโยชน์โดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์เป็น
ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย เจตนาที่สหรคตด้วย
อุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โมหะ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์
โดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่วิปปยุตจากสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่วิปปยุตจากสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากและ
กฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :313 }