เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 20.สัญโญชนทุกะ 7.ปัญหาวาร
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย
ทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายา-
ยตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นสังโยชน์
โดยปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์โดยปุเรชาต-
ปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ
เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัส
จึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่สังโยชน์โดยปุเรชาตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และที่ไม่เป็น
สังโยชน์โดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ เพราะ
ปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น สังโยชน์และสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่สังโยชน์และสัมปยุตตขันธ์โดย
ปุเรชาตปัจจัย (3)

ปัจฉาชาตปัจจัย
[25] สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์โดย
ปัจฉาชาตปัจจัย มี 1 วาระ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์โดย
ปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และที่ไม่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็น
สังโยชน์โดยปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :285 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 20.สัญโญชนทุกะ 7.ปัญหาวาร
อาเสวนปัจจัย
[26] สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์โดย
อาเสวนปัจจัย มี 9 วาระ

กัมมปัจจัยเป็นต้น
[27] สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์
โดยกัมมปัจจัย มี 3 วาระ เป็นปัจจัยโดยวิปากปัจจัย มี 1 วาระ เป็นปัจจัย
โดยอาหารปัจจัย มี 3 วาระ เป็นปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย มี 3 วาระ เป็น
ปัจจัยโดยฌานปัจจัย มี 3 วาระ เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย มี 9 วาระ เป็น
ปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย มี 9 วาระ

วิปปยุตตปัจจัย
[28] สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์โดย
วิปปยุตตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ (พึงจำแนกไว้) (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์โดย
วิปปยุตตปัจจัย มี 3 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ (พึงจำแนก
ไว้) (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์โดยวิปปยุตต-
ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่สังโยชน์โดย
วิปปยุตตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และที่ไม่เป็น
สังโยชน์โดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็น
ปัจจัยแก่สังโยชน์และสัมปยุตตขันธ์โดยวิปปยุตตปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และที่ไม่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็น
สังโยชน์โดยวิปปยุตตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ (พึง
จำแนกไว้) (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :286 }