เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 20.สัญโญชนทุกะ 7.ปัญหาวาร
ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ ขันธ์
ที่ไม่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์โดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ พิจารณา
กุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ
หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่เป็นสังโยชน์ เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุ
เป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และที่ไม่เป็น
สังโยชน์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ
พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินจักษุ
ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่เป็นสังโยชน์ เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลิน
จักษุเป็นต้นนั้น สังโยชน์และขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์จึงเกิดขึ้น (3)
สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และที่ไม่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
สังโยชน์โดยอารัมมณปัจจัย มี 3 วาระ (พึงเพิ่มเฉพาะที่ปรารภไว้)

อธิปติปัจจัย
[19] สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์โดย
อธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลทำสังโยชน์ให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ มี 3 วาระ (มีอารมณ์อย่างหนักแน่น)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์โดย
อธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ มี 3 วาระ (พึง
เพิ่มอารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติแม้ทั้ง 3 วาระ พึงจำแนกแม้ทั้ง 3 วาระ)
สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และที่ไม่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
สังโยชน์โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลทำ
สังโยชน์และสัมปยุตตขันธ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ มี 3 วาระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :282 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 20.สัญโญชนทุกะ 7.ปัญหาวาร
อนันตรปัจจัย
[20] สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์โดย
อนันตรปัจจัย ได้แก่ สังโยชน์ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สังโยชน์ที่เกิดหลัง ๆ โดย
อนันตรปัจจัย มี 3 วาระ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์โดย
อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นสังโยชน์ซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่
เป็นสังโยชน์ซึ่งเกิดหลัง ๆ ฯลฯ ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์โดยอนันตร-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นสังโยชน์ซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สังโยชน์ที่เกิดหลัง ๆ
โดยอนันตรปัจจัย อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่สังโยชน์โดยอนันตรปัจจัย (พึงเพิ่มแม้
ทั้ง 2 วาระอย่างนี้) (2)
สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และที่ไม่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
สังโยชน์โดยอนันตรปัจจัย มี 3 วาระ

สมนันตรปัจจัยเป็นต้น
[21] สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์โดย
สมนันตรปัจจัย มี 9 วาระ เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย มี 9 วาระ เป็นปัจจัย
โดยอัญญมัญญปัจจัย มี 9 วาระ เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ

อุปนิสสยปัจจัย
[22] สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์โดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ สังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สังโยชน์โดยอุปนิสสยปัจจัย (แม้ทั้ง
3 วาระก็พึงแสดงอย่างนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :283 }