เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 16.อาสวสัมปยุตตทุกะ 7.ปัญหาวาร
[76] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ โทสะและโมหะเป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะโดยเหตุปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่วิปปยุตจากอาสวะโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ โทสะและโมหะเป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ โทสะและโมหะ
เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (3)

อารัมมณปัจจัย
[77] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
อาสวะโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะ ขันธ์ที่
สัมปยุตด้วยอาสวะจึงเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะ
โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะ ขันธ์และโมหะที่
วิปปยุตจากอาสวะจึงเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ
และที่วิปปยุตจากอาสวะโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์ที่สัมปยุต
ด้วยอาสวะ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่
สหรคตด้วยอุทธัจจะจึงเกิดขึ้น (3)
[78] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก
อาสวะโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระ
อริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพาน
เป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค ผล และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :245 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 16.อาสวสัมปยุตตทุกะ 7.ปัญหาวาร
พระอริยะพิจารณากิเลสที่วิปปยุตจากอาสวะซึ่งละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว
พิจารณากิเลสที่เคยเกิดขึ้น ฯลฯ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์
ที่วิปปยุตจากอาสวะโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา (ในที่นี้ไม่มีความ
ยินดี) บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้มี
ความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่วิปปยุตจากอาสวะด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจา-
ยตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่
เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ ขันธ์ที่วิปปยุตจากอาสวะเป็น
ปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ
อนาคตังสญาณ อาวัชชนจิต และโมหะโดยอารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ
โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว ยินดี
เพลิดเพลินกุศลนั้น เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น
ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลยินดี
เพลิดเพลินกุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน ฯลฯ
ยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่วิปปยุตจากอาสวะ เพราะ
ปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ โทมนัส ฯลฯ
วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ
และที่วิปปยุตจากอาสวะโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภจักษุ ฯลฯ
หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่วิปปยุตจากอาสวะ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส
ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะจึงเกิดขึ้น (3)
[79] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์และ
โมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ขันธ์
ที่สัมปยุตด้วยอาสวะจึงเกิดขึ้น (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :246 }