เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 16.อาสวสัมปยุตตทุกะ 3.ปัจจยวาร
1.ปัจจยาโลม 2.สังขยาวาร

[70] เหตุปัจจัย มี 9 วาระ
อารัมมณปัจจัย มี 9 วาระ

(ทุกปัจจัย มีปัจจัยละ 9 วาระ)

กัมมปัจจัย มี 9 วาระ
วิปากปัจจัย มี 1 วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย มี 9 วาระ

อนุโลม จบ

2. ปัจจยปัจจนียะ 1. วิภังควาร
นเหตุปัจจัย
[71] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะทำสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคต
ด้วยอุทธัจจะทำขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะทำสภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ 1 ที่ไม่มีเหตุ
ซึ่งวิปปยุตจากอาสวะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ทำขันธ์ 2 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ
ที่เป็นอเหตุกะ ฯลฯ (พึงเพิ่มข้อความจนถึงอสัญญสัตตพรหม) จักขุวิญญาณทำ
จักขายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณทำกายายตนะให้เป็นปัจจัยเกิด
ขึ้น ขันธ์ที่ไม่มีเหตุซึ่งวิปปยุตจากอาสวะทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น โมหะที่
สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะทำสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุต
จากอาสวะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา
และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะทำขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ
และทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (1) (ย่อ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :241 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 16.อาสวสัมปยุตตทุกะ 3.ปัจจยวาร
2. ปัจจยปัจจนียะ 2. สังขยาวาร
สุทธนัย

[72] นเหตุปัจจัย มี 3 วาระ
นอารัมมณปัจจัย มี 3 วาระ
นอธิปติปัจจัย มี 9 วาระ
นอนันตรปัจจัย มี 3 วาระ
นสมนันตรปัจจัย มี 3 วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย มี 3 วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ
นปุเรชาตปัจจัย มี 7 วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี 9 วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี 9 วาระ
นกัมมปัจจัย มี 4 วาระ
นวิปากปัจจัย มี 9 วาระ
นอาหารปัจจัย มี 1 วาระ
นอินทรียปัจจัย มี 1 วาระ
นฌานปัจจัย มี 1 วาระ
นมัคคปัจจัย มี 1 วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย มี 3 วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี 6 วาระ
โนนัตถิปัจจัย มี 3 วาระ
โนวิคตปัจจัย มี 3 วาระ

(พึงทำการนับ 2 อย่างแม้นอกนี้อย่างนี้)
(นิสสยวารเหมือนกับปัจจยวาร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :242 }