เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 14.อาสวทุกะ 7.ปัญหาวาร
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วมีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ
ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา
โดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็น
อาสวะโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วมีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ
เสนาสนะ ฯลฯ ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่
ราคะ ฯลฯ ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
อาสวะโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ มี 3 วาระ

ปุเรชาตปัจจัย
[28] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะโดย
ปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลพิจารณาจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ (พึงขยาย
ให้พิสดารอย่างนี้) โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายา-
ยตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นอาสวะโดย
ปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะโดยปุเรชาตปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ
เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น อาสวะจึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่อาสวะโดยปุเรชาตปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :218 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 14.อาสวทุกะ 7.ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็น
อาสวะโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ เพราะ
ปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น อาสวะและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่อาสวะและขันธ์ที่สัมปยุตด้วย
อาสวะโดยปุเรชาตปัจจัย (3)

ปัจฉาชาตปัจจัย
[29] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะโดย
ปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ อาสวะที่เกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย
ปัจฉาชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะโดยปัจฉา-
ชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นอาสวะซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน
โดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็น
อาสวะโดยปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ อาสวะและสัมปยุตตขันธ์ที่เกิดภายหลังเป็น
ปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)

อาเสวนปัจจัย
[30] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะโดย
อาเสวนปัจจัย มี 9 วาระ

กัมมปัจจัย
[31] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะโดย
กัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต-
สมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :219 }