เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 12.โลกิยทุกะ 7.ปัญหาวาร
สมนันตรปัจจัยเป็นต้น
[155] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดย
สมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย (มี 5 วาระ ไม่มีฆฏนา ) เป็นปัจจัย
โดยอัญญมัญญปัจจัย มี 2 วาระ เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย มี 7 วาระ

อุปนิสสยปัจจัย
[156] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูป-
นิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นโลกิยะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำ
วิปัสสนาให้เกิดขึ้น ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ
อาศัยศีลที่เป็นโลกิยะ ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธาที่เป็น
โลกิยะ ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นโลกิยะ ฯลฯ ทุกข์ทางกายโดย
อุปนิสสยปัจจัย กรรมที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นปัจจัยแก่วิบากโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บริกรรมปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรคโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย ฯลฯ บริกรรมจตุตถมรรคเป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
[157] สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระ
โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย
ฯลฯ ตติยมรรคเป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :191 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 12.โลกิยทุกะ 7.ปัญหาวาร
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ พระอริยะอาศัยมรรคแล้วทำสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น เข้าสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว เห็นแจ้งสังขารโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา มรรคของพระอริยะ ฯลฯ มรรคของพระอริยะเหล่านั้น ฯลฯ เป็น
ปัจจัยแก่ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและมิใช่ฐานะโดยอุปนิสสยปัจจัย ผลสมาบัติเป็น
ปัจจัยแก่สุขทางกายโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)

ปุเรชาตปัจจัย
[158] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดยปุเร-
ชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วย
ทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายา-
ยตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นโลกิยะโดย
ปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระโดยปุเรชาตปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นโลกุตตระ
โดยปุเรชาตปัจจัย (2)

ปัจฉาชาตปัจจัย
[159] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดย
ปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นโลกิยะซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิด
ก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดยปัจฉาชาต-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นโลกุตตระซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน
โดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :192 }