เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 12.โลกิยทุกะ 5.สังสัฏฐวาร

นวิปากปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี 9 วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย ” มี 3 วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย ” มี 2 วาระ
โนนัตถิปัจจัย ” มี 3 วาระ
โนวิคตปัจจัย ” มี 3 วาระ

อนุโลมปัจจนียะ จบ

4. ปัจจยปัจจนียานุโลม
นเหตุทุกนัย

[146] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี 1 วาระ
อนันตรปัจจัย ” มี 1 วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย ” มี 1 วาระ

ปัจจนียานุโลม จบ
(นิสสยวารเหมือนกับปัจจยวาร)

12. โลกิยทุกะ 5. สังสัฏฐวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[147] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเพราะ
เหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับขันธ์ 1 ที่เป็นโลกิยะ ฯลฯ เกิดระคนกับ
ขันธ์ 2 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเพราะเหตุ
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับขันธ์ 1 ที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์
2 ฯลฯ (1) (พึงขยายสังสัฏฐวารให้พิสดารอย่างนี้ พร้อมทั้งการนับ มี 2 วาระ)
(สัมปยุตตวารเหมือนกับสังสัฏฐวาร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :187 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 12.โลกิยทุกะ 7.ปัญหาวาร
12. โลกิยทุกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[148] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดยเหตุ-
ปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดย
เหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระโดยเหตุปัจจัย
มี 3 วาระ

อารัมมณปัจจัย
[149] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณากุศล
นั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะพิจารณา
โคตรภู พิจารณาโวทาน พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้
กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่เป็นโลกิยะ
โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟัง
เสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นโลกิยะด้วย
เจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ
อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ รูปายตนะเป็น
ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ขันธ์ที่
เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)
[150] สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระ
โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรคและผลโดยอารัมมณปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :188 }