เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 10.สัปปฏิฆทุกะ 7.ปัญหาวาร
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่งกระทบ
ไม่ได้โดยอัตถิปัจจัย
กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่กระทบไม่ได้โดยอัตถิปัจจัย รูปชีวิตินทรีย์
เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่กระทบไม่ได้โดยอัตถิปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กระทบได้โดยอัตถิปัจจัย
มี 4 อย่าง คือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปที่กระทบได้
โดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ อาโปธาตุเป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูปที่กระทบ
ได้โดยอัตถิปัจจัย อาโปธาตุเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็น
อุปาทายรูปซึ่งกระทบได้โดยอัตถิปัจจัย อาโปธาตุเป็นปัจจัยแก่จักขายตนะ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะโดยอัตถิปัจจัย ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ...
ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม ฯลฯ
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่งกระทบ
ได้โดยอัตถิปัจจัย กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่กระทบได้โดยอัตถิปัจจัย
รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่กระทบได้โดยอัตถิปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กระทบได้และที่กระทบไม่ได้
โดยอัตถิปัจจัย มี 4 อย่าง คือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และกฏัตตารูป
ที่กระทบได้และที่กระทบไม่ได้ ฯลฯ (เหมือนกับปฏิจจวาร พึงเพิ่มข้อความจนถึง
อสัญญสัตตพรหม)
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่งกระทบ
ได้และกระทบไม่ได้โดยอัตถิปัจจัย
กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่กระทบได้และที่กระทบไม่ได้โดยอัตถิปัจจัย
รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่กระทบได้และที่กระทบไม่ได้โดยอัตถิปัจจัย (3)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :153 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 10.สัปปฏิฆทุกะ 7.ปัญหาวาร
[85] สภาวธรรมที่กระทบได้และที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กระทบ
ได้โดยอัตถิปัจจัย (เหมือนกับปฏิจจวาร พึงเพิ่มข้อความจนถึงอสัญญสัตตพรหม) (1)
สภาวธรรมที่กระทบได้และที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กระทบไม่
ได้โดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กระทบไม่ได้และมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปที่กระทบไม่ได้ ฯลฯ (เหมือนกับปฏิจจวาร พึงเพิ่มข้อความจนถึง
อสัญญสัตตพรหม)
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณและจักขายตนะเป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ 3 ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ ขันธ์ 1 ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณและ
กายายตนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ (2)
สภาวธรรมที่กระทบได้และที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กระทบได้
และที่กระทบไม่ได้โดยอัตถิปัจจัย (เหมือนกับปฏิจจวาร) (3)

1. ปัจจยานุโลม 2. สังขยาวาร
สุทธนัย

[86] เหตุปัจจัย มี 3 วาระ
อารัมมณปัจจัย มี 2 วาระ
อธิปติปัจจัย มี 4 วาระ
อนันตรปัจจัย มี 1 วาระ
สมนันตรปัจจัย มี 1 วาระ
สหชาตปัจจัย มี 9 วาระ
อัญญมัญญปัจจัย มี 6 วาระ
นิสสยปัจจัย มี 9 วาระ
อุปนิสสยปัจจัย มี 2 วาระ
ปุเรชาตปัจจัย มี 3 วาระ
ปัจฉาชาตปัจจัย มี 3 วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :154 }