เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 1.เหตุทุกะ 7.ปัญหาวาร
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ เหตุเป็นปัจจัยแก่เหตุและสัมปยุตตขันธ์โดยอุปนิสสย-
ปัจจัย (3)
[29] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ
ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วจึงให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้
เกิดขึ้น ฯลฯ มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ เสนาสนะ แล้วจึงให้ทาน ฯลฯ
ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ผลสมาบัติโดย
อุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย
มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะแล้วจึงให้ทาน ฯลฯ
ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนา
มรรค และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุโดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ... (ปัจจัยนี้เหมือนกับอุปนิสสยปัจจัยข้อที่ 2) (3)
[30] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุ
โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ เหตุและสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่เหตุโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุโดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :15 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 1.เหตุทุกะ 7.ปัญหาวาร
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ เหตุและสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุ
โดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่
ไม่เป็นเหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ เหตุและสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่เหตุและสัมปยุตต-
ขันธ์โดยอุปนิสสยปัจจัย (3)

ปุเรชาตปัจจัย
[31] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุโดยปุเรชาต-
ปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ
ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพา-
ยตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย
ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุโดยปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุโดยปุเรชาตปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย
ทิพพโสตธาตุ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่เหตุโดยปุเรชาตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุโดย
ปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :16 }