เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 10.สัปปฏิฆทุกะ 7.ปัญหาวาร
เพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่กระทบไม่ได้ซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่ง
กระทบได้และกระทบไม่ได้โดยปัจฉาชาตปัจจัย (สำหรับปัจจัยทั้ง 2 พึงเพิ่มบท
ที่เป็นมูล) (3)

อาเสวนปัจจัย
[77] สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้โดย
อาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่กระทบไม่ได้ซึ่งเกิดก่อน ๆ ฯลฯ โวทานเป็นปัจจัยแก่
มรรคโดยอาเสวนปัจจัย (1)

กัมมปัจจัย
[78] สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้โดย
กัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต-
สมุฏฐานรูปที่กระทบไม่ได้โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากและ
กฏัตตารูปที่กระทบไม่ได้โดยกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กระทบได้โดยกัมมปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปที่กระทบ
ได้โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่กระทบได้
โดยกัมมปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กระทบได้และที่กระทบไม่ได้
โดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต-
สมุฏฐานรูปที่กระทบได้และที่กระทบไม่ได้โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :149 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 10.สัปปฏิฆทุกะ 7.ปัญหาวาร
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากและ
กฏัตตารูปที่กระทบได้และที่กระทบไม่ได้โดยกัมมปัจจัย (3)

วิปากปัจจัย
[79] สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้โดย
วิปากปัจจัย ได้แก่ สภาวธรรมที่เป็นวิบากซึ่งกระทบไม่ได้ ฯลฯ มี 3 วาระ

อาหารปัจจัย
[80] สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้โดย
อาหารปัจจัย ได้แก่ อาหารที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต-
สมุฏฐานรูปที่กระทบไม่ได้โดยอาหารปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร
เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่กระทบไม่ได้โดยอาหารปัจจัย (พึงเพิ่ม 2 วาระที่เหลือ แม้
ในวาระทั้ง 2 ก็พึงเพิ่มปฏิสนธิและกวฬิงการาหาร ไว้ในตอนท้ายด้วย) (3)

อินทรียปัจจัยเป็นต้น
[81] สภาวธรรมที่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้โดยอินทรีย-
ปัจจัย ได้แก่ จักขุนทรีย์เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายินทรีย์เป็นปัจจัยแก่
กายวิญญาณโดยอินทรียปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้โดยอินทรียปัจจัย
มี 3 วาระ (แม้ในวาระทั้ง 3 ก็พึงเพิ่มชีวิตินทรีย์ไว้ในตอนท้ายด้วย) (3)
สภาวธรรมที่กระทบได้และที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้
โดยอินทรียปัจจัย ได้แก่ จักขุนทรีย์และจักขุวิญญาณเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคต
ด้วยจักขุวิญญาณโดยอินทรียปัจจัย ฯลฯ กายินทรีย์และกายวิญญาณเป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณโดยอินทรียปัจจัย เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย มี
3 วาระ เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย มี 3 วาระ เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย มี
1 วาระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :150 }