เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 6.นเหตุสเหตุกทุกะ 7.ปัญหาวาร
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มี
เหตุโดยปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุแต่มี
เหตุโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะ และวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็น
วิบากซึ่งไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ
ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุโดย
ปุเรชาตปัจจัย (2)

ปัจฉาชาตปัจจัย
[184] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุ
และไม่มีเหตุโดยปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุซึ่งเกิดภายหลัง
เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุและ
ไม่มีเหตุโดยปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุซึ่งเกิดภายหลังเป็น
ปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)

อาเสวนปัจจัย
[185] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุ
แต่มีเหตุโดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอาเสวนปัจจัย อนุโลมเป็น
ปัจจัยแก่โคตรภู ฯลฯ อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน ฯลฯ โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค
ฯลฯ โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรคโดยอาเสวนปัจจัย (1)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :100 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 6.นเหตุสเหตุกทุกะ 7.ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุและ
ไม่มีเหตุโดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอาเสวนปัจจัย (1)

กัมมปัจจัย
[186] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุ
แต่มีเหตุโดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย
กัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบาก
ซึ่งไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุโดยกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุและไม่มี
เหตุโดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดย
กัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบาก
ซึ่งไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ
และที่ไม่เป็นเหตุไม่มีเหตุโดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบาก
ซึ่งไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุและไม่
มีเหตุโดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นเหตุและไม่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :101 }