เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 6. วิตักกติกะ 7. ปัญหาวาร
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่วิตกและจิตต-
สมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัย
แก่วิตกและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่วิตกที่เป็นวิบาก
และกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (5)
สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกวิจารและที่
ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารโดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ
วิตกโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์และวิตกโดยกัมมปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบาก
ซึ่งมีทั้งวิตกวิจารและวิตกโดยกัมมปัจจัย (6)
สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกวิจารที่ไม่มี
วิตกมีเพียงวิจารและที่ไม่มีทั้งวิตกวิจารโดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะ
และนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์วิตก
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่มีทั้งวิตกและวิจาร
เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์วิตกและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบาก
ซึ่งมีทั้งวิตกวิจาร วิตกและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (7)
[115] สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตก
มีเพียงวิจารโดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
วิบากซึ่งไม่มีวิตกมีเพียงวิจารโดยกัมมปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :97 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 6. วิตักกติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและ
วิจารโดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นปัจจัยแก่วิจารและจิตต-
สมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็น
ปัจจัยแก่วิจารที่เป็นวิบากและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นปัจจัยแก่วิจารที่เป็น
วิบากและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีเพียง
วิจารและที่ไม่มีทั้งวิตกวิจารโดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
วิจารและจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่ไม่มีวิตกมีเพียง
วิจารเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์วิจารและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
วิบากซึ่งไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร วิจารและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและ
วิจารโดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารเป็น
ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบาก
ซึ่งไม่มีทั้งวิตกวิจารและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (1)

วิปากปัจจัย
[116] สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีทั้งวิตก
และวิจารโดยวิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เป็นวิบากซึ่งมีทั้งวิตกและวิจารเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :98 }