เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 22. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ 7. ปัญหาวาร
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และ
กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยวิปปยุตตปัจจัย
ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดยวิปปยุตตปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์โดย
วิปปยุตตปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดย
วิปปยุตตปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิด
ก่อนซึ่งเห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยวิปปยุตตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นได้และ
กระทบได้โดยวิปปยุตตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะ และปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน-
รูปที่เห็นได้และกระทบได้โดยวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และ
กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่เห็นได้และกระทบได้โดยวิปปยุตตปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิด
ก่อนซึ่งเห็นได้และกระทบได้โดยวิปปยุตตปัจจัย (2)
(พึงขยายวาระทั้ง 5 ที่เหลือให้พิสดารอย่างนี้ พึงขยายสหชาตะ และ
ปัจฉาชาตะให้พิสดาร)

อัตถิปัจจัย
[50] สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และ
กระทบไม่ได้โดยอัตถิปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ฯลฯ บุคคลเห็นแจ้ง
รูปโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ
รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณโดยอัตถิปัจจัย (1)
[51] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้
แต่กระทบได้โดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ มหาภูตรูป 1 ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :656 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 22. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ 7. ปัญหาวาร
แก่มหาภูตรูป 2 โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป 2 เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป 1 โดย
อัตถิปัจจัย มหาภูตรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปและ
กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปซึ่งเห็นไม่ได้แต่กระทบได้โดยอัตถิปัจจัย โผฏฐัพพายตนะ
เป็นปัจจัยแก่จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะโดยอัตถิปัจจัย ... ที่เป็นภายนอก ...
ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... มหาภูตรูป 1 เป็นปัจจัย
แก่มหาภูตรูป 2 โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป 2 เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป 1 โดย
อัตถิปัจจัย มหาภูตรูปที่มีอุตุเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูปที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้โดยอัตถิปัจจัย สําหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป 1 ที่เห็นไม่ได้
แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป 2 โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป 2 ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบ
ได้โดยอัตถิปัจจัย (2) (ปัจจัยนี้เหมือนกับนิสสยปัจจัยในปฏิจจวาร)
สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และ
กระทบไม่ได้โดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ มหาภูตรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปซึ่งเห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยอัตถิปัจจัย
(พึงขยายให้พิสดารจนถึงอสัญญสัตตพรหม)
ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ กาย ... เสียง ฯลฯ
โผฏฐัพพะโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่
จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยอัตถิปัจจัย (3)
(พึงขยาย 4 วาระที่เหลือให้พิสดารเหมือนกับสหชาตปัจจัยในปฏิจจวาร
ไม่มีแตกต่างกัน) (7)
[52] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้
และกระทบไม่ได้โดยอัตถิปัจจัย มี 5 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ
อาหาระ และอินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3
และจิตตสมุฏฐานรูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ 2 ฯลฯ ใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :657 }