เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 21. อัชฌัตตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะที่มีธรรมภายใน
ตนเป็น อารมณ์จึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็นภายในตนซึ่งมีธรรม
ภายนอกตนเป็น อารมณ์เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (2)

อธิปติปัจจัย
[14] สภาวธรรมที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
ธรรมภายในตนเป็นอารมณ์โดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ
และสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลพิจารณาวิญญาณัญจายตนะที่เป็นภายในตน
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนะให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น พิจารณาทิพพจักขุที่เป็นภายในตนซึ่งมีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ พิจารณาทิพพโสตธาตุ ฯลฯ อิทธิวิธญาณ ...
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ... ยถากัมมูปคญาณ ... อนาคตังสญาณให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่เป็นภายในตนซึ่งมีธรรม
ภายในตนเป็นอารมณ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดี
เพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มีธรรมภายในตนเป็น
อารมณ์จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์เป็นปัจจัย
แก่สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (1)
[15] สภาวธรรมที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ
ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย
อธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีธรรม
ภายในตนเป็นอารมณ์โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :621 }