เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 20. อัชฌัตตติกะ 7. ปัญหาวาร
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตต-
สมุฏฐานรูป ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ
ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ฯลฯ มหาภูตรูป 1 ฯลฯ สําหรับเหล่า
อสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป 1 เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป 3 ฯลฯ
ปุเรชาตะ ได้แก่ ... เห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ (ปัจจัยนี้เหมือน
กับปุเรชาตปัจจัย) หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นภายในตนโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย
อัตถิปัจจัย กวฬิงการาหารที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นภายในตน ฯลฯ
รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนโดย
อัตถิปัจจัยมี 2 อย่าง คือ ปุเรชาตะ และอาหาระ
ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลอื่นเห็นแจ้งจักษุที่เป็นภายในตน ฯลฯ หทัยวัตถุโดย
เป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ
รูปายตนะที่เป็นภายในตน ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็น
ภายนอกตนโดยอัตถิปัจจัย กวฬิงการาหารที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่กายที่เป็น
ภายนอกตนโดยอัตถิปัจจัย (2)
[47] สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอก
ตนโดยอัตถิปัจจัย มี 5 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และ
อินทรียะ (สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนไม่มีข้อแตกต่างกัน พึงขยายบทมาติกาให้
พิสดาร) (1)
สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดยอัตถิ-
ปัจจัยมี 2 อย่าง คือ ปุเรชาตะและอาหาระ
ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ
เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะที่เป็นภายนอกตน
ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็นภายในตนโดยอัตถิปัจจัย
กวฬิงการาหารที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นภายในตนโดยอัตถิปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :610 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 20. อัชฌัตตติกะ 7. ปัญหาวาร
[48] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนและสภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ ปุเรชาตะและอาหาระ
ปุเรชาตะ ได้แก่ รูปายตนะที่เป็นภายนอกตนและจักษุที่เป็นภายในตนเป็น
ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณที่เป็นภายในตน ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่เป็นภายนอกตนและ
กายายตนะที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็นภายในตนโดยอัตถิปัจจัย
รูปายตนะที่เป็นภายนอกตนและหทัยวัตถุที่เป็นภายในตน ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่
เป็นภายนอกตนและหทัยวัตถุที่เป็นภายในตน เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นภายในตน
โดยอัตถิปัจจัย
อาหาระ ได้แก่ กวฬิงการาหารที่เป็นภายในตนและกวฬิงการาหารที่เป็น
ภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นภายในตนโดยอัตถิปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นภายในตนและสภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาว-
ธรรมที่เป็นภายนอกตนโดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ ปุเรชาตะและอาหาระ
ปุเรชาตะ ได้แก่ รูปายตนะที่เป็นภายในตนและจักขายตนะที่เป็นภายนอกตน
เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณที่เป็นภายนอกตนโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ที่เป็นภายในตนและกายายตนะที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็น
ภายนอกตนโดยอัตถิปัจจัย รูปายตนะที่เป็นภายในตนและหทัยวัตถุที่เป็นภายนอก
ตนเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นภายนอกตนโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่เป็น
ภายในตนและหทัยวัตถุที่เป็นภายนอกตน เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นภายนอกตนโดย
อัตถิปัจจัย
อาหาระ ได้แก่ กวฬิงการาหารที่เป็นภายในตนและกวฬิงการาหารที่เป็น
ภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นภายนอกตนโดยอัตถิปัจจัย (2)

นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย และอวิคตปัจจัย
[49] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย
นัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยโดยวิคตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอวิคตปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :611 }