เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 20. อัชฌัตตติกะ 7. ปัญหาวาร
[31] สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตน
โดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ และสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลอื่นให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้วให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะออกจากมรรคแล้ว
พิจารณามรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ฯลฯ พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็น
ปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค และผลโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลิน
จักษุที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่เป็นภายนอกตนให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดยอธิปติ-
ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะพิจารณานิพพานให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค และผลโดย
อธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ
ขันธ์ที่เป็นภายนอกตนให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลิน
จักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (2)

อนันตรปัจจัย
[32] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย
อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นภายในตนซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
ภายในตนซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็น
ปัจจัยแก่โวทาน โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรค มรรคเป็น
ปัจจัยแก่ผล ผลเป็นปัจจัยแก่ผล อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานา-
สัญญายตนะของท่านผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :603 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 20. อัชฌัตตติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนโดย
อนันตรปัจจัย (ข้อว่า ขันธ์ที่เป็นภายนอกตนซึ่งเกิดก่อน ๆ ดังนี้ เป็นข้อแตกต่างกัน
ข้อนั้นแหละพึงดําเนินความตามข้อความข้างต้น) (1)

สมนันตรปัจจัยเป็นต้น
[33] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตน
โดยสมนันตรปัจจัย ฯลฯ (ปัจจัยนี้เหมือนกับอนันตรปัจจัย) เป็นปัจจัยโดยสหชาต-
ปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย

อุปนิสสยปัจจัย
[34] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นภายในตนแล้วให้ทาน สมาทาน
ศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ ทําฌาน ฯลฯ วิปัสสนา ฯลฯ มรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ
สมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ บุคคลอาศัยศีลที่เป็นภายในตน ฯลฯ ปัญญา
ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย ฯลฯ
อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทําสมาบัติ ให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์
ฯลฯ ทําลายสงฆ์ ศรัทธาที่เป็นภายในตน ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ
ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย ฯลฯ เสนาสนะเป็น
ปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นภายในตน ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา
ฯลฯ สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย มรรค และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนโดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอื่นอาศัยศรัทธาที่เป็นภายในตนแล้วให้ทาน ฯลฯ
มีมานะ ถือทิฏฐิ บุคคลอื่นอาศัยศีลที่เป็นภายในตน ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน
ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทําลายสงฆ์ ศรัทธาที่เป็นภายในตน ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่
ศรัทธาที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ มรรคและผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :604 }