เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 20. อัชฌัตตติกะ 3. ปัจจยวาร
เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย เพราะนอาเสวนปัจจัย เพราะนกัมมปัจจัย ฯลฯ เพราะ
นวิปปยุตตปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับวิปปยุตตปัจจัยในปัจจนียะแห่งปฏิจจวาร)
เพราะโนนัตถิปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัย

2. ปัจจยปัจจนียะ 2. สังขยาวาร

[24] นเหตุปัจจัย มี 2 วาระ
นอารัมมณปัจจัย มี 2 วาระ ฯลฯ
โนวิคตปัจจัย มี 2 วาระ

ปัจจนียะ จบ

3. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ

[25] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี 2 วาระ
นอธิปติปัจจัย ” มี 2 วาระ ฯลฯ
นวิปากปัจจัย ” มี 2 วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย ” มี 2 วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย ” มี 2 วาระ
โนนัตถิปัจจัย ” มี 2 วาระ
โนวิคตปัจจัย ” มี 2 วาระ

อนุโลมปัจจนียะ จบ

4. ปัจจยปัจจนียานุโลม

[26] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี 2 วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย ” มี 2 วาระ

ปัจจนียานุโลม จบ
(นิสสยวารเหมือนกับปัจจยวาร พึงขยายสังสัฏฐวารและสัมปยุตตวารให้พิสดาร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :599 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 20. อัชฌัตตติกะ 7. ปัญหาวาร
20. อัชฌัตตติกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[27] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตน
โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต-
สมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนโดย
เหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต-
สมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)

อารัมมณปัจจัย
[28] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณากุศลนั้น
พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะออกจาก
มรรคแล้วพิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลส
ที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น เห็นแจ้งจักษุที่เป็นภายในตน ฯลฯ กาย ฯลฯ รูป
ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่เป็นภายในตนโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุ
เป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ
ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ
โดยอารัมมณปัจจัย อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะโดย
อารัมมณปัจจัย รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดย
อารัมมณปัจจัย ขันธ์ที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติ-
ญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลอื่นเห็นแจ้งจักษุที่เป็นภายในตน ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :600 }