เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 19. อตีตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และอนัตตานุปัสสนา
ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และ
อนัตตานุปัสสนาที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรม
เป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะและปกตูป-
นิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และอนัตตานุปัสสนา
ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และ
อนัตตานุปัสสนาที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย (3)

อาเสวนปัจจัย
[34] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม
เป็นอารมณ์โดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดก่อน ๆ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอาเสวนปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรม
เป็นอารมณ์โดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดก่อน ๆ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอาเสวนปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์โดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดก่อน ๆ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอาเสวนปัจจัย (1)

กัมมปัจจัย
[35] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม
เป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :583 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 19. อตีตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
วิบากซึ่งมีอดีตธรรมเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรม
เป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มี
อดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์โดย
กัมมปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มี
อดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดย
กัมมปัจจัย (3)
[36] สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
อนาคตธรรมเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์โดยกัมมปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่
เป็นวิบากซึ่งมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม
เป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มี
อนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งมีอดีตธรรมเป็นอารมณ์
โดยกัมมปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจุบัน
ธรรมเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มี
อนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์
โดยกัมมปัจจัย (3)
[37] สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :584 }