เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 19. อตีตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
อนาคตธรรมเป็นอารมณ์ พิจารณาเจโตปริยญาณ ... อนาคตังสญาณ ... พระอริยะ
พิจารณากิเลสที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว
รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่เป็นอดีตซึ่งมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์โดย
เป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์
นั้น ราคะที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็นอดีต
ซึ่งมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ยถากัมมูปคญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อม
ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่เป็น
ปัจจุบันซึ่งมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ และอาวัชชนจิต
โดยอารัมมณปัจจัย (3)
[22] สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้มีความ
พรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันซึ่งมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์
ที่เป็นปัจจุบันซึ่งมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณและอาวัชชน-
จิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม
เป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลพิจารณาทิพพจักขุที่เป็นอดีต
พิจารณาทิพพโสตธาตุ พิจารณาอิทธิวิธญาณที่เป็นอดีตซึ่งมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์
พิจารณาเจโตปริยญาณ พระอริยะพิจารณากิเลสที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งละ
ได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่เป็น
อดีตซึ่งมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน
เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น
ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็นอดีตซึ่งมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ และอาวัชชนจิตโดย
อารัมมณปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :576 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 19. อตีตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรม
เป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลพิจารณาทิพพจักขุที่เป็นอนาคต
พิจารณาทิพพโสตธาตุ พิจารณาอิทธิวิธญาณที่เป็นอนาคตซึ่งมีปัจจุบันธรรมเป็น
อารมณ์ พิจารณาเจโตปริยญาณ ฯลฯ เห็นแจ้งขันธ์ที่เป็นอนาคตซึ่งมีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์ โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์
นั้น ราคะที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็น
อนาคตซึ่งมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ อนาคตังสญาณ
และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (3)

อธิปติปัจจัย
[23] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม
เป็นอารมณ์โดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลพิจารณาวิญญาณัญจายตนะที่เป็นอดีตให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนะให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น พิจารณาอิทธิวิธญาณที่เป็นอดีตซึ่งมีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น พิจารณาเจโตปริยญาณ ฯลฯ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ
ยถากัมมูปคญาณให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่เป็นอดีตซึ่ง
มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิด
เพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น
ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรม
เป็นอารมณ์โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคล
พิจารณาวิญญาณัญจายตนะที่เป็นอนาคตให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ
พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ พิจารณาอิทธิวิธญาณที่เป็นอนาคตซึ่งมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :577 }