เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 19. อตีตารัมมณติกะ 1. ปฏิจจวาร

นปัจฉาชาตปัจจัย มี 3 วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี 3 วาระ
นกัมมปัจจัย มี 3 วาระ
นวิปากปัจจัย มี 3 วาระ
นฌานปัจจัย มี 1 วาระ
นมัคคปัจจัย มี 3 วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี 2 วาระ (พึงนับอย่างนี้)

ปัจจนียะ จบ

3. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
เหตุทุกนัย

[17] นอธิปติปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี 3 วาระ
นปุเรชาตปัจจัย ” มี 3 วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย ” มี 3 วาระ
นอาเสวนปัจจัย ” มี 3 วาระ
นกัมมปัจจัย ” มี 3 วาระ
นวิปากปัจจัย ” มี 3 วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย ” มี 2 วาระ (พึงนับอย่างนี้)

อนุโลมปัจจนียะ จบ

4. ปัจจยปัจจนียานุโลม

[18] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี 3 วาระ ฯลฯ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ
3 วาระ)
อวิคตปัจจัย ” มี 3 วาระ (พึงนับอย่างนี้)

ปัจจนียานุโลม จบ ปฏิจจวาร จบ
(สหชาตวาร ปัจจยวาร นิสสยวาร สังสัฏฐวาร และสัมปยุตตวาร เหมือน
กับปฏิจจวาร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :573 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 19. อตีตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
19. อตีตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[19] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม
เป็นอารมณ์โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัย
แก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรม
เป็นอารมณ์โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็น
ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (1)

อารัมมณปัจจัย
[20] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม
เป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลพิจารณาวิญญาณัญจายตนะที่เป็นอดีต
พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนะ พิจารณาอิทธิวิธญาณที่เป็นอดีตซึ่งมีอดีตธรรม
เป็นอารมณ์ พิจารณาเจโตปริยญาณ ... ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ... ยถากัมมูปค-
ญาณ พระอริยะพิจารณากิเลสที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งละได้แล้ว พิจารณา
กิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่เป็นอดีตซึ่งมีอดีตธรรม
เป็นอารมณ์โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะ
ปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ
ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็นอดีตซึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :574 }