เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 18. อตีตติกะ 7. ปัญหาวาร
18. อตีตติกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[1] สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันโดยเหตุปัจจัย
ได้แก่ เหตุที่เป็นปัจจุบันเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)

อารัมมณปัจจัย
[2] สภาวธรรมที่เป็นอดีตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบัน โดยอารัมมณ-
ปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ พิจารณากุศลนั้น
พิจารณากุศลที่สั่งสมไว้ดีแล้ว ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน พระอริยะออกจาก
มรรคแล้วพิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลส
ที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลเห็นแจ้งจักษุที่เป็นอดีตโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เห็นแจ้งโสตะที่เป็นอดีต ฯลฯ ฆานะ
... ชิวหา ... กาย ... รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ
... ขันธ์ที่เป็นอดีตโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน
เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินโสตะเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
วิจิกิจฉา ... อุทธัจจะ ... โทมนัสจึงเกิดขึ้น อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่
วิญญาณัญจายตนะโดยอารัมมณปัจจัย อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญา-
นาสัญญายตนะโดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์ที่เป็นอดีตเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ
เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ และอาวัชชนจิตโดย
อารัมมณปัจจัย (1)
[3] สภาวธรรมที่เป็นอนาคตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุที่เป็นอนาคต ฯลฯ หทัยวัตถุ ... ขันธ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :560 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 18. อตีตติกะ 7. ปัญหาวาร
ที่เป็นอนาคตโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็นอนาคต
เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดย
อารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันโดยอารัมมณ-
ปัจจัย ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุที่เป็นปัจจุบัน ฯลฯ กาย ... รูป ... เสียง ...
กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ ... ขันธ์ที่เป็นปัจจุบันโดยเป็นสภาวะไม่
เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ
รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กาย-
วิญญาณ ฯลฯ ขันธ์ที่เป็นปัจจุบันเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ และอาวัชชนจิตโดย
อารัมมณปัจจัย (1)

อธิปติปัจจัย
[4] สภาวธรรมที่เป็นอดีตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันโดยอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ
พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้วให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ออกจากฌานแล้ว
พิจารณาฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณา
มรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุที่เป็นอดีต ฯลฯ กาย ... รูป ... เสียง ... กลิ่น ...
รส ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ ... ขันธ์ที่เป็นอดีตให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
เพราะทําความยินดีเพลิด เพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ
จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่เป็นอนาคตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันโดยอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุที่เป็นอนาคต
ฯลฯ หทัยวัตถุและขันธ์ที่เป็นอนาคตให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทํา
ความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น
ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :561 }