เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 17. อุปปันนติกะ 7. ปัญหาวาร
หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ฯลฯ มหาภูตรูป 1 ฯลฯ ที่เป็นภายนอก ... ที่มี
อาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สําหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม
มหาภูตรูป 1 ฯลฯ มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็น
อุปาทายรูป จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เกิดขึ้นโดยนิสสยปัจจัย (1)

อุปนิสสยปัจจัย
[9] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยอุปนิสสยปัจจัย มี
2 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยอุตุที่เกิดขึ้นแล้วทําฌานให้เกิดขึ้น ทํา
วิปัสสนา ฯลฯ มรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ
อาศัยโภชนะที่เกิดขึ้น ฯลฯ เสนาสนะแล้วทําฌานให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนา ฯลฯ
มรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อุตุที่เกิดขึ้น ...
โภชนะ ... เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เกิดขึ้น ฯลฯ ปัญญา ... สุขทางกาย
ทุกข์ทางกาย มรรค และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยอุปนิสสยปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเมื่อปรารถนาวรรณสมบัติที่ยังไม่เกิดขึ้น จึงให้
ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ เมื่อปรารถนาสัททสมบัติที่ยังไม่เกิดขึ้น ...
คันธสมบัติ ... รสสมบัติ ... โผฏฐัพพสมบัติ ... ขันธ์ที่ยังไม่เกิดขึ้นจึงให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถ วรรณสมบัติที่ยังไม่เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น
เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เกิดขึ้น ฯลฯ ปัญญา ... สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย มรรค
และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่จักเกิดขึ้นแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :553 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 17. อุปปันนติกะ 7. ปัญหาวาร
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเมื่อปรารถนาจักขุสมบัติที่จักเกิดขึ้นแน่นอนจึง
ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ปรารถนาโสตสมบัติที่จักเกิดขึ้นแน่นอน ฯลฯ
กายสมบัติ ฯลฯ วรรณสมบัติ ... คันธสมบัติ ... รสสมบัติ ... โผฏฐัพพสมบัติ
... ขันธ์ที่จักเกิดขึ้นแน่นอน จึงให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ จักขุสมบัติที่
จักเกิดขึ้นแน่นอน ฯลฯ กายสมบัติ ฯลฯ วรรณสมบัติ ฯลฯ โผฏฐัพพสมบัติ
ฯลฯ ขันธ์ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เกิดขึ้น ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ
สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย มรรค และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)

ปุเรชาตปัจจัย
[10] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยปุเรชาตปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดี
เพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูป
ด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ
ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เกิดขึ้นโดยปุเรชาตปัจจัย (1)

ปัจฉาชาตปัจจัย
[11] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยปัจฉาชาตปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน
โดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)

กัมมปัจจัย
[12] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยกัมมปัจจัย
ได้แก่ เจตนาที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และกฏัตตารูปโดย
กัมมปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :554 }