เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 6. วิตักกติกะ 7. ปัญหาวาร
เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณและอนาคตังสญาณ
โดยอารัมมณปัจจัย เพราะปรารภขันธ์ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารและวิตก ขันธ์ที่ไม่มี
ทั้งวิตกและวิจารจึงเกิดขึ้น (3)
สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกวิจาร
และที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลออกจากฌานที่ไม่มีวิตก
มีเพียงวิจาร ออกจากมรรค ออกจากผลแล้วพิจารณาผล เพราะปรารภกุศลนั้น
ขันธ์ที่มีทั้งวิตกวิจารและวิตกจึงเกิดขึ้น เห็นแจ้งขันธ์ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารและ
วิตกโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะ
ปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ขันธ์ที่มีทั้งวิตกวิจารและวิตกจึงเกิดขึ้น
เพราะปรารภขันธ์ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารและวิตก ขันธ์ที่มีทั้งวิตกวิจารและวิตก
จึงเกิดขึ้น (4)
[71] สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตก
และวิจารโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรค ผลที่ไม่มีทั้งวิตก
วิจารและวิจารโดยอารัมมณปัจจัย บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย
ทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
ด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ
อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะโดยอารัมมณปัจจัย
รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กาย-
วิญญาณโดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ
เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ และอนาคตังสญาณ
โดยอารัมมณปัจจัย เพราะปรารภขันธ์ที่ไม่มีทั้งวิตกวิจารและวิจาร ขันธ์ที่ไม่มีทั้ง
วิตกและวิจารจึงเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจาร
โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากฌานที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ออก
จากมรรค ออกจากผลแล้วพิจารณาผล เพราะปรารภกุศลนั้น ขันธ์ที่มีทั้งวิตกและ
วิจารจึงเกิดขึ้น พระอริยะพิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :52 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 6. วิตักกติกะ 7. ปัญหาวาร
มรรค ผล ที่มีทั้งวิตกวิจาร และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย บุคคลเห็นแจ้งจักษุ
โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภ
ความยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็น
แจ้งโสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ...
โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ ... ขันธ์ที่ไม่มีทั้งวิตกวิจารและวิจาร โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินโสตะ
เป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เพราะปรารภขันธ์ที่ไม่มีทั้ง
วิตกวิจารและวิจาร ขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจารจึงเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีเพียง
วิจารโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากฌานที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
ออกจากมรรค ออกจากผลแล้วพิจารณาผล เพราะปรารภฌานเป็นต้นนั้น วิตก
จึงเกิดขึ้น พระอริยะพิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรค ผล ที่ไม่มี
วิตกมีเพียงวิจารและวิตก โดยอารัมมณปัจจัย บุคคลเห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ หทัยวัตถุ ... ขันธ์ที่ไม่มีทั้งวิตกวิจาร และ
วิจารโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะ
ปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น วิตกจึงเกิดขึ้น เพราะปรารภขันธ์ที่ไม่
มีทั้งวิตกวิจารและวิจาร วิตกจึงเกิดขึ้น (3)
สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีเพียง
วิจารและที่ไม่มีทั้งวิตกวิจารโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรค
ผลที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารและวิจาร โดยอารัมมณปัจจัย (4)
สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกวิจาร
และที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากฌานที่ไม่
มีทั้งวิตกและวิจาร ออกจากมรรค ออกจากผลแล้วพิจารณาผล เพราะปรารภฌาน
เป็นต้นนั้น ขันธ์ที่มีทั้งวิตกวิจาร และวิตกจึงเกิดขึ้น พระอริยะพิจารณานิพพาน
นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภูและวิตก โวทานและวิตก มรรคที่มีทั้งวิตกวิจารและวิตก
ผลที่มีทั้งวิตกวิจารและวิตก อาวัชชนจิตและวิตกโดยอารัมมณปัจจัย บุคคลเห็นแจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :53 }