เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 15. มิจฉัตตนิยตติกะ 7. ปัญหาวาร
อัตถิปัจจัย
[56] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนโดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่มีสภาวะผิดและให้ผล
แน่นอนเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 ฯลฯ ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 โดยอัตถิปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่
นอนโดยอาการทั้งสองโดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏ-
ฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่
เกิดก่อนโดยอัตถิปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะผิด
ให้ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่มี
สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย
ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ (3)
สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ
ชอบและให้ผลแน่นอนโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ (มี 3 วาระ)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดย
อาการทั้งสองโดยอัตถิปัจจัย มี 5 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ
อาหาระ และอินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดยอัตถิปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์โดยอัตถิปัจจัย
... มหาภูตรูป 1 ฯลฯ สําหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป 1 ฯลฯ
ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :514 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 15. มิจฉัตตนิยตติกะ 7. ปัญหาวาร
เป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟัง
เสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ
กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดย
อาการทั้งสองอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่
เกิดก่อนโดยอัตถิปัจจัย กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอัตถิปัจจัย รูป-
ชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ
ผิดและให้ผลแน่นอนโดยอัตถิปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ รูปชีวิตินทรีย์
เป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม ฯลฯ โลหิตุปปาทกรรมโดยอัตถิปัจจัย หทัยวัตถุเป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนโดยอัตถิปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ
ชอบและให้ผลแน่นอนโดยอัตถิปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนโดยอัตถิปัจจัย (3)
[57] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดให้ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้ง
สองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนโดยอัตถิปัจจัย มี 2
อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่มีสภาวะผิดให้ผลแน่นอนและหทัยวัตถุเป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ 3 ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดให้ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็น
ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยอัตถิปัจจัย มี 4 อย่าง คือ
สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีสภาวะผิดให้ผลแน่นอนและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่
จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :515 }