เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 15. มิจฉัตตนิยตติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่
นอนโดยอาการทั้งสองโดยวิปปยุตตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่กายนี้
ที่เกิดก่อนโดยวิปปยุตตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอน
โดยอาการทั้งสองโดยวิปปยุตตปัจจัย มี 3 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และ
ปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ
โดยวิปปยุตตปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์โดยวิปปยุตตปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้ง
สองโดยวิปปยุตตปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่
เกิดก่อนโดยวิปปยุตตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ
ผิดและให้ผลแน่นอนโดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่
หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนโดยวิปปยุตตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบ
และให้ผลแน่นอนโดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนโดยวิปปยุตตปัจจัย (3)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :513 }