เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 15. มิจฉัตตนิยตติกะ 7. ปัญหาวาร
ปัจฉาชาตปัจจัย
[49] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่
แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผล
แน่นอนซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอน
โดยอาการทั้งสองโดยปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน
ซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดย
อาการทั้งสองโดยปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองซึ่งเกิด
ภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)

อาเสวนปัจจัย
[50] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่
แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้ง
สองซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองซึ่งเกิดหลัง ๆ
โดยอาเสวนปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทานโดย
อาเสวนปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะผิด
และให้ผลแน่นอนโดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ โทมนัสที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง
เป็นปัจจัยแก่โทมนัสที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนโดยอาเสวนปัจจัย มิจฉาทิฏฐิ
ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่มิจฉาทิฏฐิที่ให้ผลแน่นอนโดยอาเสวน-
ปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ
ชอบและให้ผลแน่นอนโดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทาน
เป็นปัจจัยแก่มรรคโดยอาเสวนปัจจัย (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :510 }