เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 15. มิจฉัตตนิยตติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ
ชอบให้ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยอธิปติปัจจัยมีอย่างเดียว คือ
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)
[41] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่
แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ
และสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะพิจารณาผลให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพาน
เป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน และผลโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ
ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก
แน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ราคะที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัย
แก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ
ชอบและให้ผลแน่นอนโดยอธิปติปัจจัยมีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่
นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรคโดยอธิปติปัจจัย (2)

อนันตรปัจจัย
[42] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่
แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่
นอนเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :505 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 15. มิจฉัตตนิยตติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่
นอนโดยอาการทั้งสองโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ มรรคเป็นปัจจัยแก่ผลโดยอนันตร-
ปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอน
โดยอาการทั้งสองโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองซึ่ง
เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองซึ่งเกิดหลัง ๆ โดย
อนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน ผลเป็น
ปัจจัยแก่ผล อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่านผู้
ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (1)
[43] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ โทมนัสที่ไม่แน่นอนโดย
อาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่โทมนัสที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนโดยอนันตรปัจจัย
มิจฉาทิฏฐิที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่มิจฉาทิฏฐิที่ให้ผลแน่นอนโดย
อนันตรปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ
ชอบและให้ผลแน่นอนโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทาน
เป็นปัจจัยแก่มรรคโดยอนันตรปัจจัย (3)

สมนันตรปัจจัยเป็นต้น
[44] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่
นอนโดยอาการทั้งสองโดยสมนันตรปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับอนันตรปัจจัย) เป็น
ปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย (เหมือนกับปฏิจจวาร มี 9 วาระ) เป็นปัจจัยโดย
อัญญมัญญปัจจัย (เหมือนกับปฏิจจวาร มี 3 วาระ) เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย
(เหมือนกับกุสลติกะ มี 13 วาระ)

อุปนิสสยปัจจัย
[45] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนโดยอุปนิสสยปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปกตูปนิสสยะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :506 }