เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 15. มิจฉัตตนิยตติกะ 7. ปัญหาวาร
15. มิจฉัตตนิยตติกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[36] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน
เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอน
โดยอาการทั้งสองโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็น
ปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะผิด
ให้ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีสภาวะ
ผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ
ชอบและให้ผลแน่นอนโดยเหตุปัจจัย มี 3 วาระ
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดย
อาการทั้งสองโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)

อารัมมณปัจจัย
[37] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่
แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะพิจารณากิเลสที่มี
สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนซึ่งละได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น เห็นแจ้งขันธ์ที่มีสภาวะ
ผิดและให้ผลแน่นอนโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อม
ด้วยจิตที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้
ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ
อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :502 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 15. มิจฉัตตนิยตติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอน
โดยอาการทั้งสองโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณา
มรรค รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนด้วย
เจโตปริยญาณ ขันธ์ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)
[38] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่
นอนโดยอาการทั้งสองโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษา
อุโบสถแล้วพิจารณากุศลนั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ออกจากฌานแล้ว
พิจารณาฌาน พระอริยะพิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู
โวทาน ผล และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย พระอริยะพิจารณากิเลสที่ไม่แน่
นอนโดยอาการทั้งสองซึ่งละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น
เห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดี
เพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของ
บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองด้วยเจโตปริยญาณ
อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะ
เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะโดยอารัมมณปัจจัย รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่
จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยอารัมมณปัจจัย
ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดย
อารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะผิด
และให้ผลแน่นอนโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม
ปิตุฆาตกรรม อรหันตฆาตกรรม และโลหิตุปปาทกรรมโดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์ที่
มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ยึดมั่นหทัยวัตถุใด หทัยวัตถุนั้นเป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนโดยอารัมมณปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :503 }