เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 6. วิตักกติกะ 7. ปัญหาวาร
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และกฏัตตารูปโดยเหตุปัจจัย (1)

อารัมมณปัจจัย
[69] สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและ
วิจารโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ออกจากฌานที่มีทั้งวิตกและ
วิจาร ออกจากมรรค ออกจากผลแล้ว พิจารณาผล พระอริยะพิจารณากิเลสที่ละ
ได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น เห็นแจ้งขันธ์ที่มีทั้งวิตก
และวิจาร โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน
เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น
เพราะปรารภขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจาร ขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจารจึงเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร
เพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้น เพราะปรารภกุศลนั้น วิตกจึงเกิดขึ้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสม
ไว้ดีแล้ว ออกจากฌานที่มีทั้งวิตกและวิจาร ออกจากมรรค ออกจากผลแล้ว
พิจารณาผล เพราะปรารภฌานเป็นต้นนั้น วิตกจึงเกิดขึ้น พระอริยะพิจารณา
กิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้นเห็นแจ้งขันธ์ที่มีทั้ง
วิตกและวิจารโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน
เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น วิตกจึงเกิดขึ้น เพราะปรารภขันธ์ที่มี
ทั้งวิตกและวิจาร วิตกจึงเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่มีทั้ง
วิตกและวิจารด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่เจโต-
ปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ และอนาคตังสญาณโดย
อารัมมณปัจจัย เพราะปรารภขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจาร ขันธ์ที่ไม่มีทั้งวิตกและ
วิจารจึงเกิดขึ้น (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :50 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 6. วิตักกติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกวิจารและที่
ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษา
อุโบสถแล้วพิจารณากุศลนั้น เพราะปรารภกุศลนั้น ขันธ์ที่มีทั้งวิตกวิจารและวิตก
จึงเกิดขึ้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ออกจากฌานที่มีทั้งวิตกและวิจาร
ออกจากมรรค ออกจากผลแล้วพิจารณาผล เพราะปรารภกุศลนั้น ขันธ์ที่มีทั้ง
วิตกวิจารและวิตกจึงเกิดขึ้น พระอริยะพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่
ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น เห็นแจ้งขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจาร โดยเป็นสภาวะ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดี
เพลิดเพลินขันธ์นั้น ขันธ์ที่มีทั้งวิตกวิจารและวิตกจึงเกิดขึ้น เพราะปรารภขันธ์ที่มี
ทั้งวิตกและวิจาร ขันธ์ที่มีทั้งวิตกวิจารและวิตกจึงเกิดขึ้น (4)
[70] สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมี
เพียงวิจารโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลออกจากฌานที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร
ออกจากมรรค ออกจากผลแล้วพิจารณาผล เพราะปรารภกุศลนั้น วิตกจึงเกิดขึ้น
เห็นแจ้งขันธ์ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารและวิตกโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
อนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น วิตกจึงเกิดขึ้น
เพราะปรารภขันธ์ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารและวิตก วิตกจึงเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและ
วิจารโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลออกจากฌานที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ออก
จากมรรค ออกจากผลแล้วพิจารณาผล เพราะปรารภกุศลนั้น ขันธ์ที่มีทั้งวิตก
และวิจารจึงเกิดขึ้น เห็นแจ้งขันธ์ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารและวิตกโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น
ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เพราะปรารภขันธ์ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร
และวิตก ขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจารจึงเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและ
วิจารโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่
ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นปัจจัยแก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :51 }