เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 15. มิจฉัตตนิยตติกะ 5. สังสัฏฐวาร
15. มิจฉัตตนิยตติกะ 5. สังสัฏฐวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[26] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มี
สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับขันธ์ 1
ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ 2 ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มีสภาวะ
ชอบและให้ผลแน่นอนเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับขันธ์ 1 ที่มี
สภาวะชอบและให้ผลแน่นอน ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ 2 ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเกิดระคนกับสภาวธรรมที่ไม่แน่นอน
โดยอาการทั้งสองเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับขันธ์ 1 ที่ไม่แน่นอน
โดยอาการทั้งสอง ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ 2 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)

อารัมมณปัจจัยเป็นต้น
[27] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มี
สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเพราะอารัมมณปัจจัย ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย

1. ปัจจยานุโลม 2. สังขยาวาร

[28] เหตุปัจจัย มี 3 วาระ
อารัมมณปัจจัย มี 3 วาระ (ย่อ)
กัมมปัจจัย มี 3 วาระ
วิปากปัจจัย มี 1 วาระ
อาหารปัจจัย มี 3 วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย มี 3 วาระ (พึงนับอย่างนี้)

อนุโลม จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :498 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 15. มิจฉัตตนิยตติกะ 5. สังสัฏฐวาร
2. ปัจจยปัจจนียะ 1. วิภังควาร
นเหตุปัจจัย
[29] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเกิดระคนกับสภาวธรรมที่ไม่
แน่นอนโดยอาการทั้งสองเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับขันธ์ 1 ที่
เป็นอเหตุกะซึ่งไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ 2 ฯลฯ ใน
ปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ ฯลฯ (1)

นอธิปติปัจจัย
[30] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มี
สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีสภาวะผิด
และให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน (1)
สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มีสภาวะ
ชอบและให้ผลแน่นอนเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีสภาวะชอบและ
ให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับขันธ์ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน (1)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเกิดระคนกับสภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดย
อาการทั้งสองเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับขันธ์ 1 ที่ไม่แน่นอน
โดยอาการทั้งสอง ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ 2 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)

นปุเรชาตปัจจัยเป็นต้น
[31] สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มี
สภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเพราะนปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ 3
เกิดระคนกับขันธ์ 1 ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ 2
ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเกิดระคนกับสภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดย
อาการทั้งสองเพราะนปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ 3 เกิดระคน
กับขันธ์ 1 ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ 2 ฯลฯ ใน
ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :499 }