เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 15. มิจฉัตตนิยตติกะ 1. ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองอาศัยสภาวธรรมที่มีสภาวะชอบให้
ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตต-
สมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่มีสภาวะชอบให้ผลแน่นอนและอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (1)

อารัมมณปัจจัย
[5] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนอาศัยสภาวธรรมที่มีสภาวะผิด
และให้ผลแน่นอนเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่มี
สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนอาศัยสภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและ
ให้ผลแน่นอนเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่มี
สภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองอาศัยสภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการ
ทั้งสองเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่ไม่แน่นอน
โดยอาการทั้งสองเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ 3
อาศัยขันธ์ 1 ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ
ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น
(ด้วยเหตุนี้ พึงขยายปัจจัยทั้งหมดให้พิสดาร ย่อ)

1. ปัจจยานุโลม 2. สังขยาวาร

[6] เหตุปัจจัย มี 9 วาระ
อารัมมณปัจจัย มี 3 วาระ
อธิปติปัจจัย มี 9 วาระ
อนันตรปัจจัย มี 3 วาระ
สมนันตรปัจจัย มี 3 วาระ
สหชาตปัจจัย มี 9 วาระ
อัญญมัญญปัจจัย มี 3 วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :486 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 15. มิจฉัตตนิยตติกะ 1. ปฏิจจวาร

นิสสยปัจจัย มี 9 วาระ
อุปนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ
ปุเรชาตปัจจัย มี 3 วาระ
อาเสวนปัจจัย มี 9 วาระ
กัมมปัจจัย มี 1 วาระ
วิปากปัจจัย มี 9 วาระ
อาหารปัจจัย มี 9 วาระ
อินทรียปัจจัย มี 9 วาระ
ฌานปัจจัย มี 9 วาระ
มัคคปัจจัย มี 9 วาระ
สัมปยุตตปัจจัย มี 3 วาระ
วิปปยุตตปัจจัย มี 9 วาระ อัตถิปัจจัย มี 9 วาระ
นัตถิปัจจัย มี 3 วาระ
วิคตปัจจัย มี 3 วาระ
อวิคตปัจจัย มี 9 วาระ (พึงนับอย่างนี้)

อนุโลม จบ

2. ปัจจยปัจจนียะ 1. วิภังควาร
นเหตุปัจจัย
[7] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองอาศัยสภาวธรรมที่ไม่แน่นอน
โดยอาการทั้งสองเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูป
อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นอเหตุกะซึ่งไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัย
ขันธ์ 2 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ ฯลฯ อาศัยมหาภูตรูป 1 ฯลฯ
ที่เป็นภายนอก ฯลฯ ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ฯลฯ ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ฯลฯ
สําหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม ฯลฯ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วย
อุทธัจจะอาศัยขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเกิดขึ้น (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :487 }