เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 13. ปริตตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
[32] สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
โดยกัมมปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
วิบากซึ่งมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์โดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีอัปปมาณะ
เป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งมีปริตตะเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย (2)

วิปากปัจจัยเป็นต้น
[33] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์โดยวิปากปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย
เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย
เป็นปัจจัยโดยอัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยโดยวิคตปัจจัย เป็น
ปัจจัยโดยอวิคตปัจจัย

1. ปัจจยานุโลม 2. สังขยาวาร

[34] เหตุปัจจัย มี 3 วาระ
อารัมมณปัจจัย มี 7 วาระ
อธิปติปัจจัย มี 7 วาระ
อนันตรปัจจัย มี 9 วาระ
สมนันตรปัจจัย มี 9 วาระ
สหชาตปัจจัย มี 3 วาระ
อัญญมัญญปัจจัย มี 3 วาระ
นิสสยปัจจัย มี 3 วาระ
อุปนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :479 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 13. ปริตตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร

อาเสวนปัจจัย มี 5 วาระ
กัมมปัจจัย มี 5 วาระ
วิปากปัจจัย มี 3 วาระ
อาหารปัจจัย มี 3 วาระ
อินทรียปัจจัย มี 3 วาระ
ฌานปัจจัย มี 3 วาระ
มัคคปัจจัย มี 3 วาระ
สัมปยุตตปัจจัย มี 3 วาระ
อัตถิปัจจัย มี 3 วาระ
นัตถิปัจจัย มี 9 วาระ
วิคตปัจจัย มี 9 วาระ
อวิคตปัจจัย มี 3 วาระ (พึงนับอย่างนี้)

อนุโลม จบ

2. ปัจจนียุทธาร
[35] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็น
อารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย (3)
[36] สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะ
เป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :480 }