เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 13. ปริตตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์แล้วให้
ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทําฌานที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ทำ
วิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้นอาศัยศีลที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
ฯลฯ ปัญญาแล้วให้ทาน ฯลฯ ทําสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธาที่มีอัปปมาณะเป็น
อารมณ์ ฯลฯ ปัญญาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ ปัญญา
สุขทางกาย และทุกข์ทางกายโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์แล้วทํา
ฌานที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติ
ให้เกิดขึ้นอาศัยศีลที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ ฯลฯ ปัญญาแล้วทําฌานที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น
ศรัทธาที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ ฯลฯ ปัญญาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ ปัญญาโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)

อาเสวนปัจจัย
[28] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์โดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดก่อน ๆ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอาเสวนปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็น
อารมณ์โดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ อนุโลมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่โคตรภู
อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทานโดยอาเสวนปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :477 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 13. ปริตตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
[29] สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์โดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดก่อน ๆ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอาเสวนปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะ
เป็นอารมณ์โดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ อนุโลมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทานโดยอาเสวนปัจจัย (2)
[30] สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์โดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ซึ่ง
เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอาเสวน-
ปัจจัย โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรคโดยอาเสวนปัจจัย (1)

กัมมปัจจัย
[31] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะ และนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
วิบากซึ่งมีปริตตะเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์โดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
วิบากซึ่งมีมหัคคตะเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์โดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งมีปริตตะเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :478 }