เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 13. ปริตตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
สมนันตรปัจจัย
[23] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์โดยสมนันตรปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับอนันตรปัจจัย)

สหชาตปัจจัยเป็นต้น
[24] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย เป็นปัจจัยโดย
นิสสยปัจจัย มี 3 วาระ (พึงเพิ่มให้เหมือนกับปฏิจจวาร)

อุปนิสสยปัจจัย
[25] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์แล้วให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทําฌานที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนา
ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีลที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ
ทิฏฐิ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกายแล้วให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทําฌานที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนา
ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทําลายสงฆ์ ศรัทธาที่มี
ปริตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ
สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกายเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ
ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ทุกข์ทางกายโดย
อุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :474 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 13. ปริตตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์แล้วทําฌาน
ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติ
ให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีลที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ
ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกายแล้ว ทําฌาน
ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติ
ให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ ศรัทธาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ
ทุกข์ทางกายเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ
ราคะและความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็น
อารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ
ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์แล้วทําฌาน
ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ทำมรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้
เกิดขึ้น อาศัยศีลที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ สุขทาง
กาย ฯลฯ ทุกข์ทางกายแล้วทําฌานที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ทำมรรค
ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ
สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกายเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ ฯลฯ
ปัญญาโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)
[26] สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูป-
นิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์แล้วทําฌาน
ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติ
ให้เกิดขึ้น มีมานะถือทิฏฐิอาศัยศีลที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ
ราคะ ฯลฯ ความปรารถนาแล้ว ทําฌานที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ฯลฯ
ถือทิฏฐิ ศรัทธาที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความ
ปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ ความปรารถนาโดย
อุปนิสสยปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :475 }