เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 13. ปริตตารัมมณติกะ 1. ปฏิจจวาร

สมนันตรปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี 3 วาระ
สหชาตปัจจัย ” มี 3 วาระ
อัญญมัญญปัจจัย ” มี 3 วาระ
นิสสยปัจจัย ” มี 3 วาระ
อุปนิสสยปัจจัย ” มี 3 วาระ
ปุเรชาตปัจจัย ” มี 3 วาระ
อาเสวนปัจจัย ” มี 2 วาระ
กัมมปัจจัย ” มี 3 วาระ
วิปากปัจจัย ” มี 1 วาระ
อาหารปัจจัย ” มี 3 วาระ
อินทรียปัจจัย ” มี 3 วาระ
ฌานปัจจัย ” มี 3 วาระ
มัคคปัจจัย ” มี 2 วาระ
สัมปยุตตปัจจัย ” มี 3 วาระ
วิปปยุตตปัจจัย ” มี 3 วาระ
อัตถิปัจจัย ” มี 3 วาระ
นัตถิปัจจัย ” มี 3 วาระ
วิคตปัจจัย ” มี 3 วาระ
อวิคตปัจจัย ” มี 3 วาระ

(พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียานุโลม จบ
ปฏิจจวาร จบ
(สหชาตวาร ปัจจยวาร นิสสยวาร สังสัฏฐวาร และสัมปยุตตวารเหมือน
กับปฏิจจวาร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :466 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 13. ปริตตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
13. ปริตตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[13] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะ
เป็นอารมณ์โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (1)

อารัมมณปัจจัย
[14] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ
แล้วพิจารณากุศลนั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว พระอริยะพิจารณากิเลสที่มี
ปริตตะเป็นอารมณ์ซึ่งละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น
บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่เป็นปริตตะซึ่งมีปริตตะเป็นอารมณ์โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น
ราคะที่มีปริตตะเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลรู้จิตของ
บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นปริตตะซึ่งมีปริตตะเป็นอารมณ์ด้วยเจโตปริยญาณ
ขันธ์ที่เป็นปริตตะซึ่งมีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพ-
นิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดย
อารัมมณปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :467 }