เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 12. ปริตตติกะ 7. ปัญหาวาร
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพ-
โสตธาตุ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะโดยปุเรชาต-
ปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดยปุเรชาต-
ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
อัปปมาณะโดยปุเรชาตปัจจัย (3)

ปัจฉาชาตปัจจัย
[76] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย
ปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นปริตตะซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิด
ก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยปัจฉาชาต-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย
ปัจฉาชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยปัจฉาชาต-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน
โดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)

อาเสวนปัจจัย
[77] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย
อาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นปริตตะซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
ปริตตะซึ่งเกิดหลัง ๆ ฯลฯ อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่
โวทานโดยอาเสวนปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยอาเสวน-
ปัจจัย ได้แก่ บริกรรมปฐมฌานเป็นปัจจัยแก่ปฐมฌานนั้นเองโดยอาเสวนปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :448 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 12. ปริตตติกะ 7. ปัญหาวาร
ฯลฯ บริกรรมเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
เองโดยอาเสวนปัจจัย บริกรรมทิพพจักขุ ฯลฯ บริกรรมอนาคตังสญาณเป็น
ปัจจัยแก่อนาคตังสญาณโดยอาเสวนปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดยอาเสวน-
ปัจจัย ได้แก่ โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรคโดย
อาเสวนปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยอาเสวน-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะ
ซึ่งเกิดหลัง ๆ ฯลฯ เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย (1)

กัมมปัจจัย
[78] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยกัมม-
ปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะ และนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต-
สมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์และกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งเป็น
ปริตตะและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยกัมมปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ สหชาตะ และนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยกัมม-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย
กัมมปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่ง
เป็นมหัคคตะโดยกัมมปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :449 }