เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 12. ปริตตติกะ 7. ปัญหาวาร
[57] สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นมหัคคตะ
ด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ
อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะโดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์
ที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ยถากัมมูปคญาณ และอนาคตังสญาณโดยอารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยอารัมมณ-
ปัจจัย ได้แก่ บุคคลพิจารณาปฐมฌาน ฯลฯ พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนะ
พิจารณาทิพพจักขุ พิจารณาทิพพโสตธาตุ พิจารณาอิทธิวิธญาณ พิจารณาเจโต-
ปริยญาณ พิจารณาปุพเพนิวาสานุสสติญาณ พิจารณายถากัมมูปคญาณ และ
พิจารณาอนาคตังสญาณ เห็นแจ้งขันธ์ที่เป็นมหัคคตะโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ
ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
โทมนัสจึงเกิดขึ้น (2)
[58] สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรคและผลโดยอารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรค พิจารณาผล
พิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน และอาวัชชนจิตโดย
อารัมมณปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยอารัมมณ-
ปัจจัย ได้แก่ พระอริยะรู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นอัปปมาณะ
ด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพ-
นิวาสานุสสติญาณ และอนาคตังสญาณโดยอารัมมณปัจจัย (3)

อธิปติปัจจัย
[59] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย
อธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ และสหชาตาธิปติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :436 }