เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 12. ปริตตติกะ 5. สังสัฏฐวาร
12. ปริตตติกะ 5. สังสัฏฐวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[42] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นปริตตะเพราะ
เหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับขันธ์ 1 ที่เป็นปริตตะ ฯลฯ เกิดระคนกับ
ขันธ์ 2 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับขันธ์ 1 ที่เป็นมหัคคตะ ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ 2
ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ เกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเพราะ
เหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับขันธ์ 1 ที่เป็นอัปปมาณะ ฯลฯ เกิดระคน
กับขันธ์ 2 ฯลฯ (1)

อารัมมณปัจจัยเป็นต้น
[43] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นปริตตะเพราะ
อารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย (ไม่มีปฏิสนธิ) เพราะอนันตรปัจจัย เพราะ
สมนันตรปัจจัย เพราะสหชาตปัจจัย เพราะอัญญมัญญปัจจัย เพราะนิสสยปัจจัย
เพราะอุปนิสสยปัจจัย เพราะปุเรชาตปัจจัย (ไม่มีปฏิสนธิ) เพราะอาเสวนปัจจัย
(ไม่มีทั้งวิบากและปฏิสนธิ) เพราะกัมมปัจจัย เพราะวิปากปัจจัย เพราะอาหารปัจจัย
เพราะอินทรียปัจจัย เพราะฌานปัจจัย เพราะมัคคปัจจัย เพราะสัมปยุตตปัจจัย
เพราะวิปปยุตตปัจจัย เพราะอัตถิปัจจัย เพราะนัตถิปัจจัย เพราะวิคตปัจจัย
เพราะอวิคตปัจจัย

1. ปัจจยานุโลม 2. สังขยาวาร

[44] เหตุปัจจัย มี 3 วาระ
อารัมมณปัจจัย มี 3 วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :430 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 12. ปริตตติกะ 5. สังสัฏฐวาร

อธิปติปัจจัย มี 3 วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย มี 3 วาระ (พึงนับอย่างนี้)

อนุโลม จบ

2. ปัจจยปัจจนียะ 1. วิภังควาร
นเหตุปัจจัย
[45] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นปริตตะเพราะ
นเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับขันธ์ 1 ที่เป็นอเหตุกะซึ่งเป็นปริตตะ ฯลฯ
เกิดระคนกับขันธ์ 2 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ ฯลฯ โมหะที่สหรคตด้วย
วิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเกิดระคนกับขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่
สหรคตด้วยอุทธัจจะ (1)

นอธิปติปัจจัย
[46] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นปริตตะเพราะ
นอธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับขันธ์ 1 ที่เป็นปริตตะ ฯลฯ เกิดระคน
กับขันธ์ 2 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเพราะนอธิปติ-
ปัจจัย ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นมหัคคตะเกิดระคนกับขันธ์ที่เป็นมหัคคตะ ... เกิด
ระคนกับขันธ์ 1 ที่เป็นวิบากซึ่งเป็นมหัคคตะ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเพราะ
นอธิปติปัจจัย ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นอัปปมาณะเกิดระคนกับขันธ์ที่เป็น
อัปปมาณะ (1)

นปุเรชาตปัจจัย
[47] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นปริตตะเพราะนปุเร-
ชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับขันธ์ 1 ที่เป็นปริตตะ ฯลฯ
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :431 }