เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 11. เสกขติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคล
และอเสขบุคคลโดยปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นของอเสขบุคคลซึ่งเกิดภาย
หลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลโดยปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นของ
เสขบุคคลและอเสขบุคคลซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาต-
ปัจจัย (1)

อาเสวนปัจจัย
[58] สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลโดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นของ
เสขบุคคลและอเสขบุคคลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นของเสขบุคคล
และอเสขบุคคลซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอาเสวนปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู
อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทานโดยอาเสวนปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
เป็นของเสขบุคคลโดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็น
ปัจจัยแก่มรรคโดยอาเสวนปัจจัย (2)

กัมมปัจจัย
[59] สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นของเสข-
บุคคลโดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย
กัมมปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบาก
ซึ่งเป็นของเสขบุคคลโดยกัมมปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :395 }