เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 11. เสกขติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสข-
บุคคลและอเสขบุคคลโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ผลที่เป็นของอเสขบุคคลเป็นปัจจัย
แก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (2)
[50] สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นของ
เสขบุคคลและอเสขบุคคลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นของเสขบุคคล
และอเสขบุคคลซึ่งเกิดหลัง ๆ ฯลฯ อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัย
แก่โวทาน อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลโดย
อนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
เป็นของเสขบุคคลโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็น
ปัจจัยแก่มรรค อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่เป็นของเสขบุคคล เนวสัญญานา-
สัญญายตนกุศลของท่านผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่เป็นของเสขบุคคล
โดยอนันตรปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่
เป็นของอเสขบุคคลโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่เป็น
ของอเสขบุคคล เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาของท่านผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัย
แก่ผลสมาบัติที่เป็นของอเสขบุคคลโดยอนันตรปัจจัย (3)

สมนันตรปัจจัย
[51] สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นของเสข-
บุคคลโดยสมนันตรปัจจัย ฯลฯ (ปัจจัยนี้เหมือนกับอนันตรปัจจัย มี 8 วาระ)

สหชาตปัจจัยเป็นต้น
[52] สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นของเสข-
บุคคลโดยสหชาตปัจจัย ฯลฯ (ปัจจัยนี้เหมือนกับสหชาตปัจจัยในปฏิจจวาร มี 9
วาระ) เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับอัญญมัญญปัจจัยในปฏิจจวาร
มี 3 วาระ นิสสยปัจจัยเหมือนกับนิสสยปัจจัยในกุสลติกะ มี 13 วาระ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :391 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 11. เสกขติกะ 7. ปัญหาวาร
อุปนิสสยปัจจัย
[53] สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นของเสข-
บุคคลโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย
ทุติยมรรคเป็นปัจจัยแก่ตติยมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย ตติยมรรคเป็นปัจจัยแก่จตุตถ-
มรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย มรรคเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่เป็นของเสขบุคคลโดย
อุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคล
โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ มรรคเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่เป็นของอเสขบุคคล
โดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสข-
บุคคลและอเสขบุคคลโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ
อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ พระอริยะอาศัยมรรคแล้วทํากุศลสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น เข้ากุศลสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว เห็นแจ้งสังขาร โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ
มรรคของพระอริยะเป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา และความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและมิใช่ฐานะโดยอุปนิสสยปัจจัย
ผลสมาบัติที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สุขทางกายโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)
[54] สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นของอเสข-
บุคคลโดยอุปนิสสยปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นของ
อเสขบุคคลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นของอเสขบุคคลซึ่งเกิดหลัง ๆ ฯลฯ
ผลที่เป็นของอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่ผลที่เป็นของอเสขบุคคลโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคล
และอเสขบุคคลโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูป-
นิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :392 }