เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 11. เสกขติกะ 7. ปัญหาวาร
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลเป็น
ปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ
อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
เป็นของเสขบุคคลโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรคและผลที่
เป็นของเสขบุคคลโดยอารัมมณปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
ของอเสขบุคคลโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ นิพพานเป็นปัจจัยแก่ผลที่เป็นของ
อเสขบุคคลโดยอารัมมณปัจจัย (3)

อธิปติปัจจัย
[45] สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นของเสข-
บุคคลโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็น
ของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคล
และอเสขบุคคลโดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น พิจารณาผลที่เป็นของเสขบุคคลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลและ
ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สห-
ชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :388 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 11. เสกขติกะ 7. ปัญหาวาร
[46] สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นของ
อเสขบุคคลโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรม
ที่เป็นของอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคล
และอเสขบุคคลโดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอรหันต์พิจารณาผลที่เป็นของอเสขบุคคลให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นของอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคล
และที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สห-
ชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นของอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)
[47] สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาว-
ธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลโดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ
อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌานให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น พระอริยะพิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็น
ปัจจัยแก่โคตรภูและโวทานโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น บุคคลยินดีเพลิดเพลินโสตะ ฯลฯ
หทัยวัตถุ ขันธ์ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินโสตะเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ
จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :389 }