เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 10. อาจยคามิติกะ 7. ปัญหาวาร
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยสุขทางกายแล้วทํามรรคให้เกิดขึ้นอาศัย
ทุกข์ทาง กาย ฯลฯ เสนาสนะแล้วทํามรรคให้เกิดขึ้น สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย
ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่มรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)

ปุเรชาตปัจจัย
[57] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2
อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ พระอรหันต์เห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดย
เป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย
ทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึง
ปฏิสนธิ จุติ และนิพพานโดยปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะ
และวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ พระเสขะหรือปุถุชนเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ
โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภ
ความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและ
จุติโดยปุเรชาตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานโดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานโดยปุเรชาตปัจจัย (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :348 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 10. อาจยคามิติกะ 7. ปัญหาวาร
ปัจฉาชาตปัจจัย
[58] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็น
เหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานโดยปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึง
ปฏิสนธิและจุติซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึง
ปฏิสนธิ จุติ และนิพพานโดยปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน
ซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานเป็นปัจจัยแก่สภาว-
ธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานโดยปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์
ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิด
ก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย

อาเสวนปัจจัย
[59] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
เหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติโดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและ
จุติซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติซึ่งเกิดหลัง ๆ โดย
อาเสวนปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทานโดยอาเสวน-
ปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุ
ให้ถึงนิพพานโดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค ฯลฯ โวทาน
เป็นปัจจัยแก่มรรคโดยอาเสวนปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานโดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็น
เหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุ
ให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอาเสวนปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :349 }