เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 10. อาจยคามิติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึง
นิพพานโดยเหตุปัจจัย มี 3 วาระ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่ไม่เป็นเหตุ
ให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดย
เหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานเป็น
ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และกฏัตตารูปโดยเหตุปัจจัย (1)

อารัมมณปัจจัย
[46] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
เหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษา
อุโบสถแล้ว พิจารณากุศลนั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ออกจากฌานแล้ว
พิจารณาฌาน พระเสขะพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลส
ที่เคยเกิดขึ้น พระเสขะหรือปุถุชนเห็นแจ้งขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดี
เพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ... วิจิกิจฉา ... อุทธัจจะ ... โทมนัสจึง
เกิดขึ้น บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและ
จุติด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนกุศลเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนกุศล
โดยอารัมมณปัจจัย อากิญจัญญายตนกุศลเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตน-
กุศล ฯลฯ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโต-
ปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ และอนาคตังสญาณโดย
อารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุ
ให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอรหันต์พิจารณา
กิเลสที่ละได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและ
จุติโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อม
ด้วยจิตที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติด้วยเจโตปริยญาณ พระเสขะหรือปุถุชนเห็นแจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :339 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 10. อาจยคามิติกะ 7. ปัญหาวาร
ขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่อ
กุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็นวิบากจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ บุคคลยินดีเพลิดเพลิน
ขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะ
จึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่ออกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็นวิบากจึงเกิด
ขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ อากาสานัญจายตนกุศลเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนวิบาก
และกิริยาโดยอารัมมณปัจจัย อากิญจัญญายตนกุศลเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานา-
สัญญายตนวิบากและกิริยาโดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและ
จุติเป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ
อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (2)
[47] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้
ถึงปฏิสนธิและจุติโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระเสขะออกจากมรรคแล้วพิจารณา
มรรค รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานด้วยเจโต-
ปริยญาณ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานเป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสา-
นุสสติญาณ และอนาคตังสญาณโดยอารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึง
ปฏิสนธิ จุติ และนิพพานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอรหันต์ออกจากมรรคแล้ว
พิจารณามรรค รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานด้วย
เจโตปริยญาณ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานเป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพ-
นิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (2)
[48] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่
พระอรหันต์พิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่ผลและอาวัชชนจิต
โดยอารัมมณปัจจัย พระอรหันต์เห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
อนัตตา เห็นแจ้งโสตะ ... หทัยวัตถุ ... ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และ
นิพพานโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟัง
เสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่ไม่เป็นเหตุให้ถึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :340 }