เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 10. อาจยคามิติกะ 3. ปัจจยวาร

นิสสยปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี 2 วาระ
อุปนิสสยปัจจัย ” มี 2 วาระ
ปุเรชาตปัจจัย ” มี 2 วาระ
อาเสวนปัจจัย ” มี 2 วาระ
กัมมปัจจัย ” มี 2 วาระ
วิปากปัจจัย ” มี 1 วาระ
อาหารปัจจัย ” มี 2 วาระ
อินทรียปัจจัย ” มี 2 วาระ
ฌานปัจจัย ” มี 2 วาระ
มัคคปัจจัย ” มี 1 วาระ
สัมปยุตตปัจจัย ” มี 2 วาระ
วิปปยุตตปัจจัย ” มี 2 วาระ
อัตถิปัจจัย ” มี 2 วาระ
นัตถิปัจจัย ” มี 2 วาระ
วิคตปัจจัย ” มี 2 วาระ
อวิคตปัจจัย ” มี 2 วาระ (พึงนับอย่างนี้)

ปัจจนียานุโลม จบ ปฏิจจวาร จบ
(สหชาตวารเหมือนกับปฏิจจวาร)

10. อาจยคามิติกะ 3. ปัจจยวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[18] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติทำสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึง
ปฏิสนธิและจุติให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 ทำขันธ์ 1
ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ 2 ทำขันธ์ 2 ให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :319 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 10. อาจยคามิติกะ 3. ปัจจยวาร
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานทำสภาวธรรมที่เป็นเหตุ
ให้ถึงปฏิสนธิและจุติให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูป
ทำขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติและที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และ
นิพพานทำสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ 1 ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ทำขันธ์ 2 ฯลฯ (3)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานทำสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน ... มี
3 วาระ
[19] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานทำสภาวธรรมที่
ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ 1 ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และ
นิพพานให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ทำขันธ์ 2 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
หทัยวัตถุทำขันธ์ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ... ทำ
มหาภูตรูป 1 ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานทำหทัยวัตถุ
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติทำสภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ
จุติ และนิพพานให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึง
ปฏิสนธิและจุติทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานทำสภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ
และนิพพานให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึง
นิพพานทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (3)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติและที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ
และนิพพานทำสภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติทำหทัยวัตถุให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (4)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :320 }