เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 9. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกติกะ 7. ปัญหาวาร
มรรคเบื้องบน 3 โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาซึ่งเกิดก่อน ๆ
และโมหะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาซึ่งเกิดหลัง ๆ และโมหะโดยอนันตร-
ปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 และที่มีเหตุไม่ต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุ
ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 โดยอนันตรปัจจัย มี 3 วาระ (มีข้อความเหมือน
กับบทว่าโสดาปัตติมรรค)

สมนันตรปัจจัยเป็นต้น
[87] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาว-
ธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยสมนันตรปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือน
กับอนันตรปัจจัย) เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย (ย่อเหมือนกับสหชาตปัจจัยใน
ปฏิจจวาร) เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย (ย่อเหมือนกับอัญญมัญญปัจจัยใน
ปฏิจจวาร) เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย (ย่อเหมือนกับนิสสยวารในปัจจยวาร ไม่มี
ฆฏนาเป็นแผนกหนึ่งต่างหาก)

อุปนิสสยปัจจัย
[88] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาว-
ธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ
อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยราคะที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดา-
ปัตติมรรค แล้วฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทําลายสงฆ์ อาศัยโทสะที่มีเหตุต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรค ... โมหะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนา แล้วฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทําลาย
สงฆ์ ราคะที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ... โทสะ ... โมหะ ... ทิฏฐิ
... ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ราคะที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ฯลฯ
ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :282 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 9. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 โดยอุปนิสสยปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยราคะที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติ-
มรรคแล้วให้ทาน ฯลฯ ทําสมาบัติให้เกิดขึ้น อาศัยโทสะที่มีเหตุต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรค ... โมหะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนาแล้วให้ทาน ฯลฯ ทําสมาบัติ
ให้เกิดขึ้น ราคะที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ฯลฯ ความปรารถนา
ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย
ผลสมาบัติและโมหะโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
และมรรคเบื้องบน 3 โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ราคะที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ... โทสะ
... โมหะ ... ทิฏฐิ ... .ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา
และโมหะโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)
[89] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 เป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3
อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ราคะที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 ... โทสะ
... โมหะ ... มานะ ... ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ราคะที่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน 3 ... โทสะ ... โมหะ ... มานะ ... ความปรารถนาโดย
อุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัยมี 2 อย่าง คือ
อารัมมณูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :283 }